6 ปัญหาสุขภาพผู้ชาย

6 ปัญหาสุขภาพผู้ชาย โรคยอดฮิตที่หนุ่มยุคใหม่ควรรู้เท่าทัน

1.อ้วนลงพุง

ต้องยอมรับเลยว่าปัจจุบันเรามักจะเห็นหนุ่มๆ อ้วนลงพุงกันมากขึ้น สาเหตุส่วนใหญ่ก็มาจากการดื่มเบียร์ เพราะเบียร์ 1 ไพน์ (ประมาณ 568 มิลลิลิตร) ให้พลังงานสูงถึง 180 แคลอรีเลยทีเดียว หนุ่มๆ นักดื่มจึงมักจะมีพุง และมีความเสี่ยงโรค หัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูงตามมา

2.โรคหัวใจ

โรคหัวใจเป็นอีกหนึ่งโรคยอดฮิตของท่านชาย  โรคหัวใจยังเป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับต้นๆ ของโลกอีกด้วย สาเหตุเกิดจากคอเลสเตอรอลเข้าปิดกั้นทางเดินเลือดทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ ส่งผลทำให้เกิดอาการหัวใจวายเฉียบพลัน แต่เราสามารถป้องกันได้ ด้วยการออกกำลังกายเป็นประจำ ทานอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมทั้งหลีกเลี่ยงอาหารแปรรูป อาหารไขมันสูง ความเครียด ก็จะห่างไกลจากโรคหัวใจมากขึ้น

3.มะเร็งต่อมลูกหมาก

มะเร็งต่อมลูกหมากเป็นมะเร็งที่พบมากเป็นอันดับสองรองจากมะเร็งผิวหนังที่มักเกิดขึ้นเมื่อผู้ชายอายุมากขึ้น เพราะฉะนั้นจึงควรไปตรวจคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นประจำ เพื่อป้องกันและรับมือกับโรคดังกล่าว

6 ปัญหาสุขภาพผู้ชาย

4.มะเร็งปอด

อีกหนึ่งโรคที่มักจะพบในเพศชายนั่นก็คือ โรคมะเร็งปอด โดยเฉพาะคุณผู้ชายที่สูบบุหรี่ เพราะจะมีความเสี่ยงต่อโรคมะเร็งปอด และโรคเกี่ยวกับปอด อื่นๆ เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง ปอดติดเชื้อได้ง่าย เพื่อลดการเกิดโรคดังกล่าวจึงควรเลิกสูบบุหรี่ และหันมาดูแลสุขภาพมากขึ้น

5.มีปัญหาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ

หากคุณผู้ชายมีปัญหาเกี่ยวกับปัญหาปัสสาวะยาก หรือปัสสาวะบ่อย นี่อาจเป็นปัญหาเกี่ยวกับต่อมลูกหมากก็เป็นได้ ปัญหาเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะสามารถเกิดขึ้นกับผู้ชายได้ทุกวัย โดยเฉพาะผู้ชายที่อายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป จะมีโอกาสเสี่ยงเป็นต่อมลูกหมากโตสูงมาก มิหนำซ้ำยังนำไปสู่มะเร็งต่อมลูกหมากอีกด้วย แต่สำหรับผู้ที่พบอาการเร็วในช่วงแรกมะเร็งยังไม่ลุกลาม มีโอกาสรักษาให้หายได้ถึง 98% เพราะฉะนั้นจึงควรเข้ารับการคัดกรองมะเร็งต่อมลูกหมากเป็นประจำอยู่เสมอ เพราะหากพบเร็วก็จะสามารถรักษาได้ทันท่วงที

6.หย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศเป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพของเพศชาย ที่พบได้บ่อยมากขึ้นในปัจจุบัน โดยมักเกิดจากฮอร์โมนเพศชายที่ลดลง และอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆ ตามมาอย่างเช่น โรคหัวใจ เบาหวาน ความดันโลหิตสูง แต่ในปัจจุบันมีวิธีรักษาภาวะหย่อนสมรรถภาพทางเพศหลายรูปแบบเช่น การให้ฮอร์โมนทดแทน รวมถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการใช้ชีวิต เพื่อลดความเสี่ยงปัญหาหย่อนสมรรถภาพทางเพศ

ข่าวสุขภาพเพิ่มเติม : รู้จัก “จอตาเสื่อมชนิดเปียก” โรคอันตรายที่มองเห็นภาพผิดเพี้ยน