‘จุฬาฯ-ม.เกษตรฯ’ เต้น สั่งเช็กอาจารย์ซื้อวิจัย หลังอว. จี้ตรวจสอบ เจอช้อปมาเป็นผลงาน-ฟันไม่เลี้ยง

‘จุฬาฯ-ม.เกษตรฯ’ เต้น สั่งเช็กอาจารย์ซื้อวิจัย หลังอว. จี้ตรวจสอบ เจอช้อปมาเป็นผลงาน-ฟันไม่เลี้ยง

‘จุฬาฯ-ม.เกษตรฯ’ เต้น สั่งเช็กอาจารย์ซื้อวิจัย หลังอว. จี้ตรวจสอบ เจอช้อปมาเป็นผลงาน-ฟันไม่เลี้ยง แทงมวยพักยก

จุฬาฯ-ม.เกษตร
เมื่อวันที่ 10 มกราคม นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีการเผยแพร่ข้อมูล กรณีนักวิจัยจำนวนหนึ่งได้ตีพิมพ์ผลงานทางวิชาการ ผ่านการซื้อผลงานเพื่อให้ตัวเองได้มีชื่ออยู่ในบทความวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารวิชาการนานาชาติ ซึ่ง นายเอนก เหล่าธรรมทัศน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) จะดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงเนื่องจากการกระทำดังกล่าวเป็นการผิดจริยธรรมทางวิชาการ และขอให้มหาวิทยาลัยตรวจสอบอย่างเข้มงวดและจริงจัง หากพบว่าดำเนินการจริงต้องถือเป็นความผิดและลงโทษอย่างรวดเร็ว นั้น ทางจุฬาฯเองมีกระบวนการตรวจสอบเรื่องนี้อย่าเข้มงวด และเชื่อว่าในแวดวงวิชาการจะรู้ข้อมูล และเห็นความผิดปกติอยู่แล้ว โดยเฉพาะกรณีการทำงานวิจัยข้ามศาสตร์ ซึ่งหากไม่มีความเชื่อชาญจริง ก็จะมีการตั้งข้อสังเกตและตรวจสอบในเชิงวิชาการ
“การซื้อผลงานวิจัยเพื่อตีพิมพ์ ถือเป็นเรื่องที่ไม่เหมาะสมอย่างยิ่ง และในแวดวงวิชาการเอง ก็มีการพูดคุยเรื่องนี้อย่างกว้างขวาง เชื่อว่า ทางอว. เองก็มีมาตรการกำกับดูแลและลงโทษอย่างชัดเจนอยู่แล้ว แต่ส่วนตัวคิดว่า นอกจากกฎระเบียบที่เข้ามากำกับดูแลอย่างเข้มงวดแล้ว อาจารย์และนักวิจัยเอง ควรต้องมี หิริโอตัปปะ คือความเกรงกลัว หรือละอายต่อบาป เป็นคุณธรรมสำคัญ ที่จะเป็นเกราะป้องกันไม่ให้กันทำความผิด” นายบัณฑิต กล่าว

นายบัณฑิต กล่าวต่อว่า ส่วนกรณีที่มหาวิทยาลัย ไม่ต่อสัญญา อาจารย์ที่ไม่ขอตำแหน่งทางวิชาการนั้น จุฬาฯ ดำเนินการมานานแล้ว เพราะอยากให้อาจารย์พัฒนาตัวเอง เพื่อนำความรู้มาสอนนิสิต

นายจงรัก วัชรินทร์รัตน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์(มก.) กล่าวว่า ยอมรับว่า มก. มีความกังวล ดังนั้น จึงขอให้รองอธิการบดี ฝ่ายวิจัย ลงไปตรวจสอบข้อมูล เพราะมก. มีหลายวิทยาเขต และมีนักวิจัยจำนวนมาก แม้ที่ผ่านมาจะมีระบบตรวจสอบที่มีข้อมูลน่าเชื่อถือได้อยู่แล้ว แต่เพื่อให้เกิดความรัดกุม ก็จะดำเนินการตรวจสอบทั้งระบบอีกครั้ง หากพบมีผู้กระทำความผิด ก็จะดำเนินการลงโทษทันที ทั้งนี้ในส่วนของบทลงโทษ ที่กำหนดโดยทางอว. นั้นค่อนข้างรุนแรงอยู่แล้ว เพราะถือว่า การกระทำความผิดจริยธรรมทางวิชาการ มีโทษร้ายแรง ถึงขั้นไล่ออก ปลดออก ส่วนจะมีโทษทางกฎหมายหรือไม่นั้น ตนไม่แน่ใจ

“ผมจะดำเนินการตรวจสอบข้อมูล เพื่อให้เกิดความชัดเจน หากพบผู้กระทำความผิด จะเร่งดำเนินการลงโทษทันที อย่างไรก็ตาม นักวิชาการทั่วประเทศ มีมากกว่าแสนคน พบผู้กระทำผิดทางวิชาการ เพียงไม่กี่คน ไม่ได้หมายความว่า ผลงานทางวิจัย หรือผลงานทางวิชาการของอาจารย์ในมหาวิทยาลัยไทย จะไม่มีคุณภาพทั้งหมด ผมอยากให้มีความเชื่อมั่น ขณะเดียวกัน ก็ต้องช่วยกันตรวจสอบ เพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดขึ้นอีก ” นายจงรักกล่าว

อ่านข่าวการศึกษาที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่นี่ : “ภาวะการเรียนรู้ถดถอย” ภัยเงียบที่กำลังกัดเซาะสังคม